ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ภาคเอกชนไม่กังวลใจสถานการณ์


หนังสือพิมพ์ The Nation วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2560 รายงานว่าผู้นำภาคธุรกิจรู้สึกไม่กังวลใจกับผลกระทบจากคำพิพากษาคดีจำนำข้าวทุกเมล็ดเท่าฝ่ายการเมืองครับ!!!

ประธานหอการค้าไทยกล่าวว่ารัฐบาลไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติไว้เรียบร้อยแล้วประกอบกับมีการจัดตั้งคณะกรรมการหลายคณะขึ้นรับผิดชอบการปฏิรูปหลายๆด้าน

ประธานหอการค้าระหว่างประเทศก็บอกว่าประชาชนอาจกังวลใจต่อผลกระทบจากคำพิพากษาคดีจำนำข้าว แต่เหตุการณ์ทางการเมืองแบบนั้นคงจะไม่มีผลกระทบมากนักต่อด้านเศรษฐกิจ

การพิพากษาคดีจำนำข้าวทุกเมล็ดนี้ ผมเองก็มีความเชื่อว่าทุกอย่างจะก้าวผ่านไปด้วยความถูกต้องครับ

สาธุขอ ยกมือพนมขึ้นเหนือเศียรเกล้า ด้วยอำนาจแห่งสัจจธรรมของพระพุทธเจ้าขอความคาดหวังจงเป็นจริง!!!

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เรื่องการวิจัยของชาวไทยที่เข้าใจยาก!!!

"Chinese Academy of Science (CAS) ต้องใช้เวลาถึง 30 ปี จึงสามารถผลิตผลงานขึ้นมาได้ โดย 10 ปีแรกทำงานแค่เปลี่ยนระบบแนวคิด ทัศนคติ Mindset ต่อมาจึงพัฒนาคน และระบบวิจัย ระยะหลังนี้จึงมีผลงาน"

พวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ กล่าวถึงการปฏิวัติการวิจัยในจีนไว้ในโพสต์ทูเดย์ วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2560  เธอบอกว่า ...สำหรับประเทศไทยเราแม้จะมีสภาวิจัยมาตั้ง 50 ปีแล้ว แต่งานวิจัยของไทย มีข้อด้อย 4 ข้อ คือ
1)การวิจัยไม่ตรงกับความต้องการ จึงขายไม่ออก
2)การวิจัยไม่มีเงินทุนสำหรับการวิจัยต่อเนื่อง
3)ผลงานการวิจัยราคาแพง นักวิจัยประเมินความสามารถของตนเองสูงมาก
        4)ผลการวิจัยเป็นผลการวิจัยในห้องแล็ป ยังก้าวขึ้นเป็น prototype และ scale up ไม่ได้                                     

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ประเทศไทยเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?
เธอตอบว่าไทยต้องทำสองเรื่อง คือ
1)ต้องยกเครื่องระบบวิจัยไทยทั้งหมดโดยดึงออกจากระบบราชการ เธอบอกว่า เลิกคร่ำครึได้แล้วว่างานนโยบายต้องเป็นระบบราชการ
2)หน่วยงานฟันเฟืองหรือแขนขาที่จะต้องทำงานต้องเป็นหน่วยงานที่ตั้งโดยพระราชบัญญัติพิเศษที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาทำงาน

ผมเองอ่านบทความของเธอแล้ว ก็นึกย้อนอดีตกลับไปที่การสอนการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของผม โดยเฉพาะการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ผมเคยสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์อยู่หลายปี
ผมคำนึงอยู่ในใจว่าวงการวิจัยของเรายังต้องออกแรงปรับปรุงการปฏิบัติงานวิจัยกันอีกมากมายอยู่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นด้านผู้สอนการวิจัย ด้านผู้เรียน หรือด้านผู้บริหารระดับสูงในสถาบันการศึกษา  รวมทั้งบรรดาลูกค้าที่ในทุกวงการที่จะนำเอาผลการวิจัยของเราไปประยุกต์ใช้ และรับเอาบัณฑิตลูกศิษย์ของเราไปใช้สอยในระบบการผลิตและระบบสังคมทั่วๆไป งานปรับปรุงระบบการวิจัยไทยเป็นงานที่ยากลำบากมาก หนักหนาระดับการปฏิวัติกันเลยทีเดียวครับ ดังนั้น ต้องอิงอาศัยอิทธิฤทธิ์ความสามารถของพระบรมศาสดากันเลยครับ


ดังนั้นผมขอฝากกำลังใจมากระตุ้นความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการปรับปรุงระบบการวิจัยไทยนะครับ
อย่าละทิ้งความอยาก อย่าละทิ้งความฝัน
อยู่อย่างคนหิว อยู่อย่างคนโง่
Stay Hungry, Stay Foolish
สัมมา วายาโม!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

น้ำตานองอาบสองแก้ม!!!

อัดอั้นคดีจำนำข้าว
น้ำตานองวันเกิด
บิ๊กตู่บุก
อ้อนคนขอนแก่นขอให้รักชาติ-ไม่ต้องรักตน
มาร์คจี้ ทบทวนรถไฟ ไทย-จีน
กกต.ยันคุมไพรมารีโหวตไร้ปัญหา แต่ กรธ.ให้เป็นเรื่องภายใน พรรคการเมืองไปว่ากันเอง
มาร์คไม่ขวางแต่ชี้ให้เห็นปัญหา
ท้าเอากันให้สุดทาง ต้องแบบอังกฤษ

กกต.แจงคุม ไพรมารี่ ไม่มีปัญหา
กรธ.ยันควรเป็นเรื่องภายในพรรค
หวังจะปฏิรูปพรรคต้องอดทน
"มาร์ค"ย้ำ ไม่ขวางแต่ปัญหาเยอะ
ท้าเอาให้สุดทางต้องเอาแบบอังกฤษ
แจงสี่เบี้ยงบศกรธ.สูงปรี๊ดเหมาะสม
จำเป็นต้องขอเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้
พท.จี้ทบทวน ไปใช้อย่างอื่นดีกว่า
พลังชล มึนไพรมารีเท่าเทียมจริงหรือ
เฉ่ง กกต.ไร้วุฒิภาวะควรเซตซีโร่
เตือน "อัศวิน" ต้องแฟร์กับทุกฝ่าย
"บิ๊กเจี๊บ" ยันอีกเสียงเลือกตั้ง 61
ประชาสังคมหนุน โละทิ้ง กสม.
"บิ๊กตู่" ลุยขอนแก่น จนท.คุมเข้ม
จ้อแหลกไทยแลนด์ 4.0 ฝ่ากับดัก
ใครยาหอมปลดหนี้เอาไปฆ่าทิ้ง
"เสธ พีท" จัดให้ คุ้ยรัง "ดาวดิน" วืด
"ปู"ทำบุญวันเกิดก้าวสู่เลข 5
ครวญขอให้ทำบุญร่วมกันอีก
น้ำตาไหลซึมขณะให้สัมภาษณ์
ยันพิสูจน์บริสุทธิ์ไม่หนีไปนอก
"สมชาย"ขอศาลแถลงปิดคดีเอง
"วัฒนา"เห็นใจอดีตนายกหญิง อึด
"วิษณุ" ไม่เร่งรัดยึดทรัพย์ "ปู"
ขอ"บิ๊กตู่"ทบทวนรถไฟไทย-จีน
แนะ กันพระเป็นพยานเงินทอน
ตัวแทนสื่อฯ จับเข่าคุย "วิษณุ"
ซัด ม.44 ปลดล็อก ส.ป.ก. อุ้ม ขรก.





วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การประเมินประสิทธิภาพจังหวัดรอบแรก


49 จังหวัดสอบตก ผลประเมินประสิทธิภาพจังหวัดรอบแรก ตามคำสั่ง หน.คสช. -“ขอนแก่น โคราช ชลบุรี ภูเก็ต” เกณฑ์ต้องปรับปรุง
        เปิดผลการประเมินประสิทธิภาพจังหวัดรอบแรก ตามคำสั่ง ม.44 ของ หัวหน้า คสช. “มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ” พบ 49 จังหวัดสอบตก “ขอนแก่น โคราช ชลบุรี พิษณุโลก ภูเก็ต” อยู่ในเกณฑ์ “ต้องปรับปรุง” คะแนนต่ำกว่า 40 “ชัยนาท” จังหวัดเดียวผ่าน “ระดับคุณภาพ 100 เต็ม” ส่วนอีก 26 จังหวัด ผ่านเกณฑ์ “มาตรฐาน” เตรียมประเมินอีกรอบถึง 30 กันยายน นี้
       
       วันนี้ (11 มิ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า หลังจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่ง ที่ 5/2559 เรื่อง มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 และต่อมาคณะรัฐมนตรี 5 เม.ย. 59 เห็นชอบแบบประเมินส่วนราชการตามคำสั่ง หัวหน้า คสช. มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานของส่วนราชการในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของรัฐบาล การแก้ไขปัญหา และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และเพื่อเพิ่มศักยภาพของส่วนราชการในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
       
       ล่าสุด มีรายงานว่า สำนักงาน ก.พ.ร. โดยคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ที่มี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทำหน้าที่พิจารณาผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2560 ได้จัดส่งผลการประเมินผลส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เฉพาะในส่วนของจังหวัด 76 จังหวัด ให้กับจังหวัดต่างๆ แล้ว ซึ่งเป็นผลการประเมิน รอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560
       
       ทั้งนี้ พบว่า มีเพียงจังหวัดชัยนาท เพียงจังหวัดเดียวที่ได้เกณฑ์ “คุณภาพ” วงกลมสีเขียว คะแนนเต็ม 100 คะแนน ขณะที่อีก 26 จังหวัดผ่านการประเมินในเกณฑ์ “มาตรฐาน” วงกลมสีเหลือง เช่น เชียงใหม่ (95) น่าน (95) บึงกาฬ (95) ส่วนอีก 49 จังหวัด อยู่ในเกณฑ์ “ต้องปรับปรุง” วงกลมสีแดงโดยมีจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น จ.ขอนแก่น (65) จ.นครราชสีมา (40) ชลบุรี (40) พิษณุโลก (40) และ จ.ภูเก็ต (25) อยู่ในข่ายด้วย ขณะที่ จังหวัดชุมพร เพียงจังหวัดเดียวที่มีคะแนน ต่ำสุด เพียง 15 คะแนน
       
       สำหรับรอบการประเมินส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กำหนดรอบการประเมินตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ รอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี รอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี
       
       โดยการประเมินครั้งที่ 1 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติราชการ และทำความเข้าใจให้ตรงกันถึงนิยาม และวิธีการประเมินผลตัวชี้วัด รวมทั้งสังเกตการณ์สถานที่ดำเนินการและสถานที่ให้บริการที่สอดคล้องกับการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ส่วนครั้งที่ 2 เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานอ้างอิงที่ใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
       
       มีรายงานว่า มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 44) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของจังหวัด เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด หรือการบูรณาการการดำเนินงานหลายพื้นที่หรือหลายหน่วยงาน (Area Based) คะแนนเต็ม 100 คะแนน ตัวชี้วัดในการดำเนินงานตามภารกิจในพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด การบูรณาการระบบการปฏิบัติงานร่วมกันหลายหน่วยงานที่มีภารกิจร่วมกันในพื้นที่ การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง/หน่วยงาน/จังหวัด และการดำเนินการตามนโยบายประชารัฐ
       
       กำหนดตัวชี้วัดเป็นร้อยละ ในการดำเนินการตามแผนการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนนี้ ผู้ดำเนินการปฏิบัติดังนี้ คือ 1)กำหนดตัวชี้วัดเป็นร้อยละ 2)การชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ และ 3)กำหนดตัวชี้วัดร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่รับรู้และเข้าใจในการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล 
4)การชี้แจงประเด็นข่าวที่มีคุณภาพและรายงานเข้าสู่ระบบ PMOC ได้ทันตามระยะเวลาการตอบสนองที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 100)
       
       มีรายงานด้วยว่า สำนักงาน ก.พ.ร. ยังได้พัฒนาและปรับปรุงระบบ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงกับระบบ PMOC ที่สำนักโฆษกฯ และกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกันกำหนดประเด็นข่าวที่ประสงค์ให้ส่วนราชการชี้แจง และกำหนดส่วนราชการที่ต้องชี้แจง รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการตอบสนองของแต่ละประเด็นข่าวเข้าสู่ระบบฯ ของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การรายงานผลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น . 

จากที่ฟังการแถลงข่าวนี้ ผมมีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ต้องการชี้แจงให้เราทราบว่ารอบแรกของการประเมินผลนี้เป็นการทำ Bench Marking เพื่อบอกว่าตอนนี้แต่ละจังหวัดกำลังยืนอยู่ตรงจุดไหนเสียก่อน จุดตั้งต้นของแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน จะเอาทุกจังหวัดมาแข่งขันกันเลยยังไม่ได้ จะต้องมาดูว่าจริงๆแล้ว ตอนนี้ ตังหวัดไหนอยูที่ใด เมื่อจะเข้าแข่งขันขันจะต้องได้แต้มต่อ Handicap เท่าใด
ถ้ามองกันอย่างเข้าใจ มีความเข้าใจแบบเดียวกันแล้ว เราทุกจังหวัดก็สามารถเริ่มต้นจากจุดสตาร์ทของตนได้เลย ไม่ต้องน้อยใจหรือเสียกำลังใจครับ!!!

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ข้อแนะนำและตัวอย่างในการเขียนปัญหาการวิจัย(Tips and Examples for Writing Thesis Statements)

ข้อแนะนำในการเขียนปัญหาการวิจัย

 Tip ข้อที่ 1
ให้ตัดสินตกลงใจว่าจะเขียนปัญหาการวิจัยประเภทใด ประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

 1.1 เป็นเอกสารการวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่จำแนกประเด็นปัญหาหรือแนวคิดออกเป็นองค์ประกอบหลายส่วนและทำการประเมินประเด็นหรือแนวคิดนั้นๆ เสร็จแล้วนำเสนอประเด็นหรือแนวคิดดังกล่าวต่อผู้อ่าน

1.2 เป็นเอกสารตีแผ่  (Expository) หรืออธิบาย (Explainary) สิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้อ่าน

1.3 เป็นเอกสารเชิงอภิปรายถกแถลง (Argumentative) แสดงการยืนยันในความคิดเห็น (make a claim) เกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งและยืนยันการสนับสนุนความคิดเห็นนั้น ด้วยหลักฐานที่ชัดเจนและตรงประเด็น การยืนยันความคิดเห็นนั้น อาจจะเป็นความคิดเห็นเรื่องหนึ่ง,เป็นการเสนอนโยบายเรื่องหนึ่ง,การประเมินผลเรื่องหนึ่ง,เป็นการกล่าวแสดงเหตุและผล,หรือจะเป็นการตีความก็ได้
เป้าหมายของการถกแถลงนี้ คือการจูงใจผู้ฟังให้มีความเห็นคล้อยตามข้อเรียกร้องหรือคำแถลงยืนยันนั้น ว่าเป็นจริงบนพื้นฐานของร่องรอยหลักฐานที่นำเสนอ

ในกรณีที่การเขียนปัญหาการวิจัยไม่อยู่ในสามประเภทนี้ ( ตัวอย่างเช่นการพรรณนา - A narrative)  นักศึกษาก็สามารถนำตัวอย่างในข้อที่ 1 ข้างต้นมาปรับใช้ได้

Tip ข้อที่ 2.
ปัญหาการวิจัย จะต้องเป็นข้อความที่ชัดเจน คือจะต้องครอบคลุมเฉพาะสิ่งที่ต้องการอภิปรายในเอกสารการวิจัย ทั้งยังจะต้องมีร่องรอยหลักฐานที่ชัดเจนสนับสนุนอีกด้วย

Tip ข้อที่ 3
ข้อความระบุปัญหาการวิจัย มักปรากฏใน paragraph แรกของเอกสารการวิจัย

Tip ข้อที่ 4
หัวข้อการวิจัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างที่กำลังดำเนินการวิจัย ดังนั้น นักศึกษาอาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงข้อความระบุปัญหาการวิจัยให้เหมาะสมและสามารถสะท้อนภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่านักศึกษากำลังทำการอภิปรายเรื่องใดในเอกสารการวิจัย



ตัวอย่างการเขียนปัญหาการวิจัย

1.ปัญหาการวิจัยเชิงวิเคราะห์
จากการวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพบว่ามีปัญหาที่ท้าทายผู้ปฏิบัติงานด้านการแนะแนว : การรับนักศึกษาที่มีผลคะแนนการทดสอบสูงหรือนักศึกษาที่มีประวัติการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรมาก

จากปัญหานี้ เอกสารการวิจัยควรดำเนินการต่อไปว่า
-อธิบายการวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษา
-อธิบายปัญหาที่ท้าทายผู้แนะแนวการรับนักศึกษา
2.ปัญหาการวิจัยเชิงอธิบาย (Expository or Explanatory) ได้ดังนี้



ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนมากถูกจำแนกลักษณะที่สำคัญด้วยเวลาที่ใช้ในการศึกษา, การเข้าชั้นเรียน, และการมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มเพื่อน
จากปัญหาการวิจัยข้างต้น เอกสารการวิจัยส่วนต่อไปควรเป็นดังนี้
-อธิบาย (Explain) ว่านักศึกษาใช้เวลาในการศึกษา,การเข้าชั้นเรียน,และการสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มเพื่อนอย่างไร

3.ตัวอย่างปัญหาการวิจัยเชิงอภิปราย
ถกแถลง
"ผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายควรถูกกำหนดให้ฝึกงานเป็นเวลา 1 ปี เพื่อเรียนรู้โครงการบริการสังคม ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนวุฒิภาวะและความตระหนักรู้ความเป็นไปของโลกในระดับสากล"
จากปัญหาการวิจัยข้างต้น เอกสารตอนต่อไปจึงควรเป็นการ

...นำเสนอการอภิปรายถกแถลงและนำเสนอร่องรอยหลักฐานสนับสนุนการยืนยันข้อคิดเห็นที่ว่า ผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายควรถูกกำหนดให้เข้าร่วมโครงการบริการชุมชนก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย...

ในโพสต์นี้ผมแนะนำวิธีเขียนปัญหาการวิจัย (Thesis Statement or Research Problem Statement )รวม 3 แบบ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบโดยบอกผู้อ่านเพิ่มเติมว่า เมื่อเขียนปัญหาการวิจัยเสร็จแล้ว สามารถทำให้ทราบว่าเราจะต้องทำกิจกรรมอะไรอีกต่อไป

ท่านผู้อ่านและนักศึกษาที่สนใจรายละเอียดเรื่องนี้ เป็นภาษาอังกฤษโปรดติดตามลิงค์ต่อไปนี้ครับ




วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทัศนคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ต่อนโยบายการเสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา



น่าสนใจไหมครับ
ที่การประเมิณผลโครงการความปลอดภัยทางถนนช่วงสงกรานต์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่าง พ.ศ.2556 – 2559 รวม 4  ปี  พบว่า 
ภาพรวมการเกิดอุบัติเหตุเฉลี่ยวันละ 3 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 3 ราย และมีผู้บาดเจ็บเฉลี่ยวันละ 1 คน และจากสถิติเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2558 พบว่า วันที่ 12 เมษายน 2558 เป็นวันที่มีการเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด โดยมีสาเหตุจากผู้ขับขี่เป็นหลัก ได้แก่ ผู้ขับขี่เมาสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด และขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ตามลำดับ และพบว่าจักรยานยนต์ยังคงเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

จากสถานการณ์ดังกล่าว ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้กำหนดแผนบูรณาการในการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2559 ขึ้น โดยมุ่งบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ใช้การบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จริงจังและต่อเนื่อง ควบคู่กับการนำนโยบายประชารัฐ มาเป็นกลไกในการสร้างความตระหนัก และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่ โดยได้ประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 



กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครกลุ่มต่างๆ และประชาชนให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ภายใต้ ชื่อ "โครงการสงกรานต์ปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจร” โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2559 

แบ่งระยะเวลาในการดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ

1) ช่วงการรณรงค์และเสริมสร้างวินัย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 17 เมษายน 2559 และ 
2) ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2559 

เป้าหมายของโครงการ คือ 
เป้าหมายที่หนึ่ง ลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน 
เป้าหมายที่สอง ลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บให้มีจำนวนน้อยที่สุด 

วิธีดำเนินการ โดยใช้มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ 5 มาตรการ ได้แก่ 
  1. มาตรการด้านการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพแบบยึดพื้นที่เป็นหลัก โดยมุ่งบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน 
  2. มาตรการด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  3. มาตรการด้านยานพาหนะที่ปลอดภัย 
  4. มาตรการด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย และ
  5. มาตรการด้านการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ 
ในปัจจุบันนี้วงวิชาการและสื่อกระแสหลักรวมทั้ง Social Media มีการนำเสนอเรื่องการสร้างวินัยของคนในชาติอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากมีการนำเสนอเรื่องการสร้างวินัยและลักษณะนิสัยที่ดีของชาวเยอรมนีและญี่ปุ่น  ชาวเกาหลีใต้ และ ชาวสิงคโปร์ อยู่เสมอๆ โดยเฉพาะลักษณะนิสัยที่ดีในการดำรงชีวิตประจำวันด้านต่างๆ อันเป็นคุณลักษณะที่ต้องผ่านการปลูกฝังและสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ทำนองเดียวกันกับโครงการ "หน้าที่ความรับผิดชอบต่อชุมชนระดับสากลและชุมชนท้องถิ่น"(Responsibility to Global and Local Communities)
ตามลิงค์ต่อไปนี้



ข้อสังเกตประการที่ 1  ระยะเวลาในการดำเนินการนั้นสั้นมาก คือมีเวลาดำเนินการเพียง 3 เดือน จากเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน 2559 แต่ตามหลักการสร้างคุณลักษณะที่ดี โดยเฉพาะคุณลักษณะของผู้นำที่ดีนั้น จะต้องผ่านการปลูกฝังสั่งสมมาเป็นเวลาที่ยาวนาน เพราะต้องมีการลงมือแสดงพฤติกรรมที่ดีเสียก่อน จึงจะเกิดเกิดทัศนคติที่ดี จากนั้นจึงจะเกิดคุณลักษณะหรือสมบัติที่ดี เช่นมีคุณลักษณะที่ชอบปฏิบัติตามระเบียบวินัยด้านการจราจร หรือเรียกสั้นๆว่า"มีวินัยการจราจร"ได้ ทั้งนี้ ตามทฤษฎีของ John H. Zenger and Joseph Folkman ที่ว่า  

พฤติกรรม สร้าง ทัศนคติ และทัศนคติสร้าง คุณลักษณะที่ดี


(Behavior To Attitudes To Character) 

ข้อสังเกตประการที่ 2  เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 2)เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 




3) เทศบาลตำบล จำนวน 15  เทศบาล และ 4) องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง 

ตามกฏหมายแล้ว องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือราชการบริหารส่วนท้องถิ่นล้วน มีอำนาจและหน้าที่ครอบคลุมเขตพื้นที่ทุกตารางนิ้วของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และ ที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 นั้น ได้ระบุอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เกี่ยวกับการสร้างวินัยจราจร อีกด้วย คือ
ฯลฯ
"(4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น"
ฯลฯ
(9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 
และหากพิจารณาเพิ่มเติมอีกว่า เวลาต่อมาได้มี กฎกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดให้กิจการดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ เช่น
          ฯลฯ
                  (2) กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                   ฯลฯ
                  (4) บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  (5) วางผังเมือง
                  (6) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
                 (7) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ
                 (8) จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด
                 (9) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
               (10) รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
               (11) จัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
               (12) จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะและสวนสัตว์ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมสำหรับราษฎร
               (13) จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ
               (14) ป้องกันและบำบัดรักษาโรค
               (15) จัดตั้งและการบำรุงสถานพยาบาล
               (16) ส่งเสริมการท่องเที่ยว
               (17) ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ
               (18) กิจการที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ดังนั้น  จึงสามารถกล่าวได้ว่า อปท.ล้วนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างวินัยของประชาชนซึ่งรวมถึงวินัยจราจรด้วย

ข้อสังเกตประการที่ 3  คือ เมื่อใดที่มีการกำหนดพันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น จะพบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ส่วนมากจะระบุพันธกิจ เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างวินัยจราจร ไว้หลายประการ เช่น

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับผังเมืองรวม พัฒนาระบบการบริการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ รวมถึงการคมนาคมขนส่ง 



2. พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น ทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หัตถกรรมและสินค้า OTOP บนพื้นฐาน ของศักยภาพ ที่แข่งขันได้และยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาด้านนี้จำเป็นต้องบริหารจัดการเรื่องปัจจัยการผลิต อันได้แก่เรื่องทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นแรงงานให้แก่หน่วยการผลิตในทุกภาคการผลิตจองระบบเศรษฐกิจ
ฯลฯ
5. ยกระดับคุณภาพ ชีวิต ของประชาชนทั้งด้านการศึกษา สุขภาพ วิถีการประกอบอาชีพการดำรงชีวิต ที่เข้มแข็งนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ
ฯลฯ
          7. ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น

จากข้อสังเกตที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ในด้านการบริหารนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามกฏหมายเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัยจราจร มิใช่เพียงเป็นครั้งเป็นคราวเมื่อมีงานเทศกาล มิใช่พันธกิจเฉพาะกิจ แต่เป็นพันธกิจด้านหลักที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำเลยทีเดียว



ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องรับผิดชอบการเสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนตามกฏหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!
ในทางวิชาการ ตามหลักการบริหารสูความเป็นเลิศ ผู้บริหารที่จะมีแรงจูงใจที่ดีต้องมีคุณสมบัติที่สนับสนุนให้เกิด แรงจูงใจในการเสริมสร้างวินัยจราจร ได้อย่างน้อยๆ 6 ประการ คือ

1. ต้องมีความกระตือรือร้นต่ออำนาจหน้าที่หน้าที่ของตนที่เกี่ยวกับการสร้างวินัยจราจร

2. ผู้บริหารจะต้องสนทนากับบุคลากรในหน่วยงานทุกคน ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เกี่ยวกับการสร้างวินัยจราจรที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน รวมถึงแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆที่จะมีผลกระทบต่อบุคคลากรเหล่านั้นด้วย

3. ต้องทำให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายเรื่องการการสร้างวินัยจราจร ต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ที่สร้างสรรค์ และนำความคิดเห็นเหล่านั้นเสนอต่อไปยังหน่วยเหนือด้วย

4. ต้องหาโอกาสชมเชยผลงาน และความสำเร็จของบุคลากรอย่างเปิดเผย

5. ต้องสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานให้บุคลากรทราบอย่างสม่ำเสมอ

6. ต้องรีบกล่าวคำชมเชย  อย่ารอให้ผลงานเต็มร้อยเสียก่อน

นอกจากที่กล่าวมาแล้วผู้บริหารที่มีทัศนคติที่ดียังต้องมีคุณสมบัติที่ดีเพิ่มเติมอีก 3 ประการ คือ

1) ต้องรักษาคำพูด (Always deliver)
2) ต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน (Be humble)
3) ต้องแสวงหาข้อมูลย้อนกลับ(Find a miror)

จากปัญหาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงประสงค์ศึกษาทัศนคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการให้สูงขึ้นและมีความยั่งยืน เพื่อสามารถสร้างวินัยของคนในชาติได้สัมฤทธิ์ผลให้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง "ทัศนคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ต่อนโยบายการเสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์" นี้ คือ 

เพื่อบรรยาย(Describe)และอธิบาย(Explain) ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ 15 ตำบล และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการเสริมสร้างวินัยการจราจรของจังหวัดกาฬสินธ์ุ

แม้ว่าโพสต์นี้จะยาวมากแล้ว!!!
แต่เรื่องราวของเรายังไม่จบเลย
คราวหน้าเราจึงจะกล่าวถึง กรอบแนวคิดในการวิจัย

สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ



วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

การเขียนคำถามการวิจัย (Research Questions)

วิธีเขียนคำถามการวิจัย เริ่มต้นด้วย
1.เขียนคำถามให้สอดคล้องและครอบคลุมปัญหาการวิจัย โดยแบ่งปัญหาการวิจัยออกเป็น ประเด็น หรือแบ่งตาม หัวข้อย่อย เพื่อความสะดวกในการจัดการกับปัญหาการวิจัย 

2.แบ่งปัญหาการวิจัยออกเป็นหัวข้อย่อยโดยแบ่งตามกลุ่มคน กับแบ่ง ตามประเด็นของการวิจัย โดยให้เขียนแยกเป็นข้อๆเรียงตามลำดับของการศึกษาคำคอบ

3.เขียนเรียบเรียงเป็นประโยคคำถาม ด้วยสำนวนภาษาและถ้อยคำท่ีกระชับ อ่านเข้าใจง่าย

สำหรับหัวข้อการวิจัยที่เรายกมาเป็นตัวอย่าง คือการวิจัยเรื่อง

ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนจังหวัดกาฬสินธุ์

http://tongariokalasin.blogspot.com/2016/04/blog-post.html


การเขียนคำถามการวิจัย สำหรับหัวข้อการวิจัยนี้ 
ประการแรก เราต้องพิจารณาปัญหาการวิจัย (Problem Statement) ของเราเสียก่อน แล้วเราจึงระบุคำถามการวิจัยในลักษณะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ซึ่ง ปัญหาการวิจัยของเราก็คือ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อบรรยาย (Describe) และเปรียบเทียบ (Compare) ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์


จากปัญหาการวิจัยนี้ เราสามารถเขียนคำถามการวิจัยโดยแบ่งประเด็นเป็น  ประเด็นทัศนคติ กับ ประเด็นโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร เราจึงคำถามได้ดังนี้

1. อะไร (WHAT) คือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่ง ผู้บริหารท้องถิ่นในขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

2. อะไร (WHAT) คือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

3. ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่ง ผู้บริหารท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   กับทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ (ARE THERE ANY DIFFERENCES) 

คำถามการวิจัยที่เขียนในรูปของคำถามสามข้อนี้ มีประโยชน์สำหรับเป็นเครื่องนำทางในการทำวิจัย โดยคำถามจะคอยบอกว่าเราต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ใด  เราจะจัดเก็บข้อมูลอะไร เก็บจากใคร และจะมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร นอกจากนี้ คำถามยังมีประโยชน์ข้อที่สองคือช่วยให้เรามีความชัดเจนว่าคำตอบสำหรับคำถามข้อ 1 กับข้อ 2 จะได้มาจากการนำแบบสอบถาม (Questionnaires) ไปถามผู้นำท้องถิ่นทั้งสองกลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธ์ุ นั่นเองครับ

สำหรับคำถามข้อที่สาม มีประโยชน์เพราะเป็นเครื่องกำกับการพิจารณาของเราต่อไปว่า. ในการเปรียบเทียบทัศนคติผู้บริหารกับทัศนคติของสมาชิกสภา เราจะต้องมีตัวเลขที่ใช้วัดทัศนคติ เป็นเชิงปริมาณ ซึ่ง เราจะต้องเขียนนิยามศัพท์ปฏิบัติการของตัวแปรที่สามารถวัดได้  ซึ่งโดยปกติการวัดทัศนคติเราจะใช้ค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มเป็นตัวเลข  ตาม  5 point Likert's Scale 

ขอสรุปย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
ปัญหาการวิจัยและคำถามการวิจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัย หรือกล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า

Research problems and research questions are the most important part of a research projects.

ขอบคุณ และ สวัสดีครับ