ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

การเข้ารับราชการใน สตช v.s.การเข้ารับราชการใน อบต.


ผมดูข่าวเรื่องสตรีคนดังท่านหนึ่งที่จะสมัครเข้ารับราชการเป็นตำรวจแล้วเกิดมีเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ทำให้นึกถึงปรากฏการณ์การเปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งต่างๆทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเป็นจำนวนมากในระยะนี้

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ถ้าเรามองในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจก็เป็นเรื่อง การทำกิจกรรมต่างๆที่ปรากฏในสูตรการคำนวณหาค่า GDP ที่บอกว่า Y =  C + I+G + (X-M) นั่นเอง

ทั้งนี้ เพราะว่าการเร่งรัดให้มีการบรรจุบุคคลเข้ารับข้าราชการนั้น ก็มีค่าหรือส่งผลเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ คือเป็นการทำกิจกรรมที่กระตุ้นที่ตัว G  เป็นกิจกรรมการใช้จ่ายเงินของภาครัฐเพราะมีความหมายว่า ประเทศจะมีการเบิกจ่ายเงินส่วนนี้ที่กำหนดวงเงินไว้เพื่อจะจ้างข้าราชการเหล่านี้ออกไปเสีย เพื่อให้ไปหมุนเวียนในระบบ ไม่ต้องค้างท่ออยู่ เงินจะได้มีการหมุนเวียนหลายๆรอบ จะได้ไปทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (value added) 

นอกจากนั้น การบรรจุข้าราชการลงในตำแหน่งว่างเหล่านี้ ยังมีผลเป็นการจ้างงานเพิ่ม ทำให้คนมีงานทำเกิด Employment  อีกจำนวนมาก ยิ่งกว่านั้น มันยังโยงไปมีผลต่อการกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน (Consumption-C) เพราะบุคคลที่มีงานทำก็จะมีรายได้ไปจับจ่ายเลี้ยงดูคนในครอบครัวอีกกระทอกหนึ่งด้วย

ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหานำการวิจัย (research problem statement) ในปรากฏการณ์นี้ก็คือ เรื่องความโปร่งใส (transparency) ในการสรรหาและการบรรจุ แต่งตั้ง อันเป็นประเด็น (issues) เกี่ยวกับธรรมาภิบาล โกเวิ่นน้องโกเวิ่นแน้น (governance) ที่เหตุการณ์ความไม่โปร่งใสนี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ดังเช่นที่เป็นข่าวอยู่ตามองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับต่างๆ โดยล่าสุดก็มีข่าวโยงใยเรื่องทำนองนี้ที่จังหวัดสกลนคร 
        เรื่อง Good Governance นี้ ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เป็นประเด็นที่ประเทศชาติของเรามีความเป็นห่วงเป็นใยมากที่สุด เรียกว่าเป็นห่วงถึงขนาด !!! ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่ สปช.ที่เพิ่งจบภารกิจลุกจากเก้าอี้ไป ยังต้องฝากเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นไว้ในวาระการปฏิรูปโดยจัดลำดับความสำคัญไว้เป็นลำดับที่ 1 จากจำนวน 37 เรื่องที่ต้องปฏิรูป และ 6 เรื่องที่ต้องพัฒนา

ดังนั้น วันนี้ผมจึงขอวิงวอนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า อย่าเห็นเรื่องการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการมนส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องตลก แล้วหยิบยกเรื่องการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นตำรวจเอามาล้อเลียน แต่ควรอย่าทิ้งประเด็นนี้ไปเสียเปล่าๆ ควรอย่าปล่อยโอกาสอันดียิ่งนี้ที่จะนำเรื่องราวความโปร่งใส (transparency issue) นี้ขึ้นมาดู นำมาพิจารณาสภาพการเป็นไปว่าเป็นอย่างไร (state of the nature) พิจารณาปัญหาการวิจัย (statement of the problem) และคำถามการวิจัย (research question) ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน แล้วก็ศึกษาทำรีเสิร์ชหาทางแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องเสีย เพราะว่ามันทำให้สังคมอึดอัดขัดใจ เรื่องการบริหารงานของตำรวจ ดังจะเห็นได้จากที่หลายฝ่ายล้วนมีความเป็นห่วงและกังวลใจ 
ยกตัวอย่างเช่น อย่างขี้หมูขี้หมา สปช.ก็เป็นห่วงเรื่องการบริหารราชหารของตำรวจมากจนถึงกับจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของ เรื่อง การปฏิรูปกิจการตำรวจไทยของเราเอาไว้ในลำดับที่ 6 จากเรื่องที่เสนอทั้งหมด 37 เรื่อง เลยทีเดียวเชียว 



อย่าปล่อยให้โอกาสอันดีนี้หลุดลอยไป!!!
พบกันใหม่ในโพสต์หน้าครับ
สวัสดีครับ

วาระปฏิรูป 37 วาระ และ วาระพัฒนา 6 วาระ วาระการปฏิรูป สปช. วาระปฏิรูปที่ 1 : การป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ...
You visited this page on 9/21/15.