ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

การเขียนปัญหาการวิจัย ของหัวข้อ การวิจัยเรื่อง ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นฯต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรฯ

การเขียนปัญหาการวิจัยของหัวข้อการวิจัย เรื่อง ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำอย่างไร

 ผมขอตอบว่าต้องเขียนจากสูตรของ Dr.Gary  J. Dean ที่ผมเคยนำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว คือ เขียนจากสูตรที่บอกว่าให้ยึดหลักเขียนให้ครบองค์ประกอบสามส่วน ดังต่อไปนี้ครับ

T POTS + VERBS + KEY WORDS/PHRASES

ผมขออธิบายด้วยการแทนค่าในสูตร ดังต่อไปนี้


1. T POTS อ่านว่า ทีพอทส์ เป็นตัวย่อของข้อความว่า The Purpose Of This Study  Is...แปลเป็นไทยว่า วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้คือ เพื่อ...

2. VERBS หมายถึง คำกริยา ที่บ่งบอกว่าเราจะลงมือทำอะไร คือเราจะทำกิจกรรมอะไรในการวิจัยเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น เราจะบรรยาย (Describe) เราจะค้นหา (Identify) เราจะเปรียบเทียบ (Compare) ดังนี้ เป็นต้น
คำเหล่านี้ แต่ละคำจะบ่งบอกถึงวิธี (Method) ที่เราจะดำเนินการวิจัย หรือแสวงหาความรู้ หรือ เป็นการบ่งบอกว่าเราจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง


3. KEY WORDS/PHRASES คำสำคัญ/วลี  คำสำคัญในที่นี้หมายความถึงคำที่บ่งบอกกลุ่มคน กับประเด็นที่เราสนใจและวิธี (Methods) ในทำการวิจัยว่าเราจะ บรรยาย (Describe), อธิบาย (Explain), สำรวจหรือบุกเบิก (Explore), หรือจะ เปรียบเทียบ (Compare) นั่นเอง ในปัญหาการวิจัยนี้ เรากล่าวถึง คำสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

- ทัศนคติ
- ผู้นำท้องถิ่น
- ผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่งนายกเทศมนตรีมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
- ผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น
-โครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของจังหวัดกาฬสินธุ์

จากสูตรข้างต้นสามารถเขียน ปัญหาการวิจัย ได้ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อบรรยาย (Describe) ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์



กล่าวโดยย่อ การเขียนปัญหาการวิจัยเรื่องนี้ เราต้องพยายามคิดล่วงหน้าว่า เมื่อเราทำวิจัยเสร็จแล้ว อะไรคือสิ่งที่ เราประสงค์จะรายงานต่อผู้อ่าน โดยในปัญหาการวิจัยนี้เราประสงค์รายงาน การบรรยาย (Describe) สภาพของทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นโดยมีการเปรียบเทียบทัศนคติของผู้นำที่ดำรงตำแหน่งต่างกันด้วย

ผมเชื่อมั่นว่าท่านผู้อ่านและนักศึกษาจะเข้าใจวิธีเขียนปัญหาการวิจัยไม่มากก็น้อย

พบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น