ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

การเขียนคำถามการวิจัย (Research Questions)

วิธีเขียนคำถามการวิจัย เริ่มต้นด้วย
1.เขียนคำถามให้สอดคล้องและครอบคลุมปัญหาการวิจัย โดยแบ่งปัญหาการวิจัยออกเป็น ประเด็น หรือแบ่งตาม หัวข้อย่อย เพื่อความสะดวกในการจัดการกับปัญหาการวิจัย 

2.แบ่งปัญหาการวิจัยออกเป็นหัวข้อย่อยโดยแบ่งตามกลุ่มคน กับแบ่ง ตามประเด็นของการวิจัย โดยให้เขียนแยกเป็นข้อๆเรียงตามลำดับของการศึกษาคำคอบ

3.เขียนเรียบเรียงเป็นประโยคคำถาม ด้วยสำนวนภาษาและถ้อยคำท่ีกระชับ อ่านเข้าใจง่าย

สำหรับหัวข้อการวิจัยที่เรายกมาเป็นตัวอย่าง คือการวิจัยเรื่อง

ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนจังหวัดกาฬสินธุ์

http://tongariokalasin.blogspot.com/2016/04/blog-post.html


การเขียนคำถามการวิจัย สำหรับหัวข้อการวิจัยนี้ 
ประการแรก เราต้องพิจารณาปัญหาการวิจัย (Problem Statement) ของเราเสียก่อน แล้วเราจึงระบุคำถามการวิจัยในลักษณะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ซึ่ง ปัญหาการวิจัยของเราก็คือ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อบรรยาย (Describe) และเปรียบเทียบ (Compare) ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์


จากปัญหาการวิจัยนี้ เราสามารถเขียนคำถามการวิจัยโดยแบ่งประเด็นเป็น  ประเด็นทัศนคติ กับ ประเด็นโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร เราจึงคำถามได้ดังนี้

1. อะไร (WHAT) คือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่ง ผู้บริหารท้องถิ่นในขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

2. อะไร (WHAT) คือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

3. ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่ง ผู้บริหารท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   กับทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ (ARE THERE ANY DIFFERENCES) 

คำถามการวิจัยที่เขียนในรูปของคำถามสามข้อนี้ มีประโยชน์สำหรับเป็นเครื่องนำทางในการทำวิจัย โดยคำถามจะคอยบอกว่าเราต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ใด  เราจะจัดเก็บข้อมูลอะไร เก็บจากใคร และจะมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร นอกจากนี้ คำถามยังมีประโยชน์ข้อที่สองคือช่วยให้เรามีความชัดเจนว่าคำตอบสำหรับคำถามข้อ 1 กับข้อ 2 จะได้มาจากการนำแบบสอบถาม (Questionnaires) ไปถามผู้นำท้องถิ่นทั้งสองกลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธ์ุ นั่นเองครับ

สำหรับคำถามข้อที่สาม มีประโยชน์เพราะเป็นเครื่องกำกับการพิจารณาของเราต่อไปว่า. ในการเปรียบเทียบทัศนคติผู้บริหารกับทัศนคติของสมาชิกสภา เราจะต้องมีตัวเลขที่ใช้วัดทัศนคติ เป็นเชิงปริมาณ ซึ่ง เราจะต้องเขียนนิยามศัพท์ปฏิบัติการของตัวแปรที่สามารถวัดได้  ซึ่งโดยปกติการวัดทัศนคติเราจะใช้ค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มเป็นตัวเลข  ตาม  5 point Likert's Scale 

ขอสรุปย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
ปัญหาการวิจัยและคำถามการวิจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัย หรือกล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า

Research problems and research questions are the most important part of a research projects.

ขอบคุณ และ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น