ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เรื่องการวิจัยของชาวไทยที่เข้าใจยาก!!!

"Chinese Academy of Science (CAS) ต้องใช้เวลาถึง 30 ปี จึงสามารถผลิตผลงานขึ้นมาได้ โดย 10 ปีแรกทำงานแค่เปลี่ยนระบบแนวคิด ทัศนคติ Mindset ต่อมาจึงพัฒนาคน และระบบวิจัย ระยะหลังนี้จึงมีผลงาน"

พวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ กล่าวถึงการปฏิวัติการวิจัยในจีนไว้ในโพสต์ทูเดย์ วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2560  เธอบอกว่า ...สำหรับประเทศไทยเราแม้จะมีสภาวิจัยมาตั้ง 50 ปีแล้ว แต่งานวิจัยของไทย มีข้อด้อย 4 ข้อ คือ
1)การวิจัยไม่ตรงกับความต้องการ จึงขายไม่ออก
2)การวิจัยไม่มีเงินทุนสำหรับการวิจัยต่อเนื่อง
3)ผลงานการวิจัยราคาแพง นักวิจัยประเมินความสามารถของตนเองสูงมาก
        4)ผลการวิจัยเป็นผลการวิจัยในห้องแล็ป ยังก้าวขึ้นเป็น prototype และ scale up ไม่ได้                                     

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ประเทศไทยเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?
เธอตอบว่าไทยต้องทำสองเรื่อง คือ
1)ต้องยกเครื่องระบบวิจัยไทยทั้งหมดโดยดึงออกจากระบบราชการ เธอบอกว่า เลิกคร่ำครึได้แล้วว่างานนโยบายต้องเป็นระบบราชการ
2)หน่วยงานฟันเฟืองหรือแขนขาที่จะต้องทำงานต้องเป็นหน่วยงานที่ตั้งโดยพระราชบัญญัติพิเศษที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาทำงาน

ผมเองอ่านบทความของเธอแล้ว ก็นึกย้อนอดีตกลับไปที่การสอนการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของผม โดยเฉพาะการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ผมเคยสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์อยู่หลายปี
ผมคำนึงอยู่ในใจว่าวงการวิจัยของเรายังต้องออกแรงปรับปรุงการปฏิบัติงานวิจัยกันอีกมากมายอยู่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นด้านผู้สอนการวิจัย ด้านผู้เรียน หรือด้านผู้บริหารระดับสูงในสถาบันการศึกษา  รวมทั้งบรรดาลูกค้าที่ในทุกวงการที่จะนำเอาผลการวิจัยของเราไปประยุกต์ใช้ และรับเอาบัณฑิตลูกศิษย์ของเราไปใช้สอยในระบบการผลิตและระบบสังคมทั่วๆไป งานปรับปรุงระบบการวิจัยไทยเป็นงานที่ยากลำบากมาก หนักหนาระดับการปฏิวัติกันเลยทีเดียวครับ ดังนั้น ต้องอิงอาศัยอิทธิฤทธิ์ความสามารถของพระบรมศาสดากันเลยครับ


ดังนั้นผมขอฝากกำลังใจมากระตุ้นความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการปรับปรุงระบบการวิจัยไทยนะครับ
อย่าละทิ้งความอยาก อย่าละทิ้งความฝัน
อยู่อย่างคนหิว อยู่อย่างคนโง่
Stay Hungry, Stay Foolish
สัมมา วายาโม!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น