ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

การเข้ารับราชการใน สตช v.s.การเข้ารับราชการใน อบต.


ผมดูข่าวเรื่องสตรีคนดังท่านหนึ่งที่จะสมัครเข้ารับราชการเป็นตำรวจแล้วเกิดมีเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ทำให้นึกถึงปรากฏการณ์การเปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งต่างๆทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเป็นจำนวนมากในระยะนี้

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ถ้าเรามองในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจก็เป็นเรื่อง การทำกิจกรรมต่างๆที่ปรากฏในสูตรการคำนวณหาค่า GDP ที่บอกว่า Y =  C + I+G + (X-M) นั่นเอง

ทั้งนี้ เพราะว่าการเร่งรัดให้มีการบรรจุบุคคลเข้ารับข้าราชการนั้น ก็มีค่าหรือส่งผลเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ คือเป็นการทำกิจกรรมที่กระตุ้นที่ตัว G  เป็นกิจกรรมการใช้จ่ายเงินของภาครัฐเพราะมีความหมายว่า ประเทศจะมีการเบิกจ่ายเงินส่วนนี้ที่กำหนดวงเงินไว้เพื่อจะจ้างข้าราชการเหล่านี้ออกไปเสีย เพื่อให้ไปหมุนเวียนในระบบ ไม่ต้องค้างท่ออยู่ เงินจะได้มีการหมุนเวียนหลายๆรอบ จะได้ไปทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (value added) 

นอกจากนั้น การบรรจุข้าราชการลงในตำแหน่งว่างเหล่านี้ ยังมีผลเป็นการจ้างงานเพิ่ม ทำให้คนมีงานทำเกิด Employment  อีกจำนวนมาก ยิ่งกว่านั้น มันยังโยงไปมีผลต่อการกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน (Consumption-C) เพราะบุคคลที่มีงานทำก็จะมีรายได้ไปจับจ่ายเลี้ยงดูคนในครอบครัวอีกกระทอกหนึ่งด้วย

ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหานำการวิจัย (research problem statement) ในปรากฏการณ์นี้ก็คือ เรื่องความโปร่งใส (transparency) ในการสรรหาและการบรรจุ แต่งตั้ง อันเป็นประเด็น (issues) เกี่ยวกับธรรมาภิบาล โกเวิ่นน้องโกเวิ่นแน้น (governance) ที่เหตุการณ์ความไม่โปร่งใสนี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ดังเช่นที่เป็นข่าวอยู่ตามองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับต่างๆ โดยล่าสุดก็มีข่าวโยงใยเรื่องทำนองนี้ที่จังหวัดสกลนคร 
        เรื่อง Good Governance นี้ ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เป็นประเด็นที่ประเทศชาติของเรามีความเป็นห่วงเป็นใยมากที่สุด เรียกว่าเป็นห่วงถึงขนาด !!! ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่ สปช.ที่เพิ่งจบภารกิจลุกจากเก้าอี้ไป ยังต้องฝากเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นไว้ในวาระการปฏิรูปโดยจัดลำดับความสำคัญไว้เป็นลำดับที่ 1 จากจำนวน 37 เรื่องที่ต้องปฏิรูป และ 6 เรื่องที่ต้องพัฒนา

ดังนั้น วันนี้ผมจึงขอวิงวอนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่า อย่าเห็นเรื่องการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการมนส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเป็นเรื่องตลก แล้วหยิบยกเรื่องการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นตำรวจเอามาล้อเลียน แต่ควรอย่าทิ้งประเด็นนี้ไปเสียเปล่าๆ ควรอย่าปล่อยโอกาสอันดียิ่งนี้ที่จะนำเรื่องราวความโปร่งใส (transparency issue) นี้ขึ้นมาดู นำมาพิจารณาสภาพการเป็นไปว่าเป็นอย่างไร (state of the nature) พิจารณาปัญหาการวิจัย (statement of the problem) และคำถามการวิจัย (research question) ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน แล้วก็ศึกษาทำรีเสิร์ชหาทางแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องเสีย เพราะว่ามันทำให้สังคมอึดอัดขัดใจ เรื่องการบริหารงานของตำรวจ ดังจะเห็นได้จากที่หลายฝ่ายล้วนมีความเป็นห่วงและกังวลใจ 
ยกตัวอย่างเช่น อย่างขี้หมูขี้หมา สปช.ก็เป็นห่วงเรื่องการบริหารราชหารของตำรวจมากจนถึงกับจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของ เรื่อง การปฏิรูปกิจการตำรวจไทยของเราเอาไว้ในลำดับที่ 6 จากเรื่องที่เสนอทั้งหมด 37 เรื่อง เลยทีเดียวเชียว 



อย่าปล่อยให้โอกาสอันดีนี้หลุดลอยไป!!!
พบกันใหม่ในโพสต์หน้าครับ
สวัสดีครับ

วาระปฏิรูป 37 วาระ และ วาระพัฒนา 6 วาระ วาระการปฏิรูป สปช. วาระปฏิรูปที่ 1 : การป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ...
You visited this page on 9/21/15.

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แนวคิดและตัวแปรในการวิจัย (concepts and variables in research methodology)

แนวคิด (concept) คือชื่อที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ต่างๆที่พบเห็นในการวิจัย คำนี้แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ ว่า concept ซึ่งมักใช้กับแนวคิดที่เป็นรูปธรรม (concrete) แต่ถ้าแนวคิดนั้นบอกถึงปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม ภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า construct ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการพูดในที่สาธารณะ ความมีวินัย การขาดงาน เป็นต้น

รศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวในหนังสือ การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ อธิบายความหมายของ แนวคิดไว้ดังนี้

ปรากฏการณ์ที่คนส่วนใหญ่ในที่ทำงานแสดงสีหน้าเหงาหงอย เศร้าสร้อย ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ขาดงานบ่อย ลางานบ่อย มาสายและกลับก่อนเวลาเลิกงาน
คนส่วนมากที่สังเกตพบปรากฏการณ์เช่นว่านี้ อาจมีความเห็นตรงกันว่า คนที่นี่ขาด "ขวัญกำลังใจ"
คำว่า "ขวัญกำลังใจ" คือแนวคิดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เรียกปรากฏการณ์ที่เพิ่งกล่าวถึงนี้

ตัวแปร คืออะไร ตัวแปรคือตัวที่ค่าของมันผันแปรไปตามเจ้าของ เช่น
              อายุของคน จะผันแปรไปตามเจ้าของแต่ละคน
              เพศของคน ก็เป็นตัวแปรที่ผันแปรไปตามแต่ละคน เพศของคนจะมีค่า 2 ค่า คือ ชายและหญิง จะเป็นค่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่ากำลังกล่าวถึงเพศของใคร
              ภูมิลำเนา จะมีหลายค่า แต่จะเป็นค่าใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่กำลังถูกกล่าวถึง

              ตัวแปรทางรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมีมากมาย แล้วแต่ว่า
                     1) เราจะพิจารณาประเด็นอะไร
                     2) เราจะศึกษาประชากรกลุ่มใด และ
                     3) จะใช้วิธีการวิจัยแบบใด เราอาจจะพิจารณาตัวแปรที่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มในองค์กร หรือมองที่องค์การทั้งองค์การ สิ่งแวดล้อมนอกองค์การ กิจกรรมการบริหาร กระบวนการบริหาร เหล่านี้เป็นต้น

ประเภทของตัวแปร หากจำแนกประเภทของตัวแปรอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. ตัวแปรอิสระ (independent variables) นักวิจัยบางท่านเรียกว่าตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่มีส่วนในการกำหนด หรือมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม ดังนั้น บางคนจึงเรียกตัวแปรประเภทนี้ว่าตัวแปรสาเหตุ (Cause variable) เพราะเป็นต้นเหตุให้ตัวแปรตัวอื่นผันแปรไปนั่นเอง

2. ตัวแปรตาม (dependent variables) คือตัวแปรที่ค่าของมันถูกกำหนดด้วยค่าของตัวแปรอื่น หากไม่มีตัวแปรอื่น ตัวนี้จะไม่มีค่า บางทีจึงเรียกว่าตัวแปรผลลัพธ์ (effected variable)

3. ตัวแปรเกิน (extraneous variable) หรือตัวแปรภายนอก คือตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม แต่ไม่ใช่ตัวแปรที่ผู้วิจัยเจาะจงศึกษา โดยเฉพาะบางครั้งผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ล่วงหน้าก็อาจควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้ไว้ ตัวแปรที่ควบคุมไว้นี้เรียกว่าตัวแปรควบคุม (controlled variable) ตัวแปรบางตัวผู้วิจัยควบคุมไว้ไม่ได้ ทำให้สามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม ตัวแปรเช่นนี้เรียกว่า ตัวแปรสอดแทรก (intervening variable)
ตัวอย่างความคาดหวังที่จะได้ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีความสัมพันธ์ต่อความรู้สึกต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้
จากตัวอย่างนี้ เราสามารถบอกได้ว่า
ตัวแปรตาม  คือ ความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ตัวแปรอิสระ  คือ ความคาดหวังที่จะได้ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ตัวแปรควบคุม คือ  เพศ อาชีพ อายุ ระดับการศึกษา
ตัวแปรสอดแทรก คือ  พรรคการเมืองที่สังกัด ฐานะทางเศรษฐกิจ ถิ่นที่อยู่ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาแล้ว ผมหวังว่าท่านผู้อ่านคงพอเข้าใจเรื่องแนวคิดและเรื่องตัวแปรบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

พบกันใหม่คราวหน้า
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นความยุติธรรม (Justice) A Harvard Professor gives a lecture on Philosophy that garners a long applause.

การกำหนดหัวข้อการวิจัย
หัวข้อการวิจัยเกิดขึ้นจากแนวคิด หรือความคิดได้อย่างไร

- เกิดจากประสบการณ์ชีวิต
- เกิดจากการพบปะกับผู้อื่น
- เกิดจากรูปแบบหรือองค์กรทางสังคมที่เราเป็นสมาชิก
- ประเด็น (Issues)ทางสังคมในปัจจุบันอาจจะช่วยให้เราได้ความคิดในการวิจัยทางสังคมได้อย่างไร
เราจะช่วยให้นักศึกษาคิดอย่างจริงจังว่ามีประเด็นอะไรที่น่าจำการแสวงหาความจริง ถ้านักศึกษายังมองไม่ออกว่าชีวิตของตนมีความเกี่ยวข้องกับความขัดอกขัดใจกับกิจกรรมการแสวงหาความจริงแล้ว นักศึกษาก็จะไม่ทำการแสวงหาความจริงอย่างทุ่มเทเต็มความสามารถ
วิธีหนึ่งที่จะเรียนรู้การวิจัยก็คือการศึกษางานวิจัยที่ดี ดังนั้นเราจะเริ่มต้นที่ตัวอย่างงานวิจัยในอดีตที่สำคัญๆ สามวิธี (Three Research Methods) คือการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) การวิจัยแบบทดลอง (Experiments) และการวิจัยสนาม (Field Research)

แต่ตอนนี้ เราจะทำการศึกษาประเด็นอันเป็นเรื่องที่ขัดอกขัดใจเรื่องหนึ่งในสังคม คือ เป็น Social Issue

ทั้งนี้ เพื่อที่จะเป็นแหล่งที่มาของหัวข้อการวิจัย และปัญหาการวิจัย (Research Problems)
ลองติดตามคำบรรยายของอาจารย์จาก ฮาวาร์ด ครับ


ปัญหาเรื่องความยุติธรรม (Justice)