ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ข้อแนะนำและตัวอย่างในการเขียนปัญหาการวิจัย(Tips and Examples for Writing Thesis Statements)

ข้อแนะนำในการเขียนปัญหาการวิจัย

 Tip ข้อที่ 1
ให้ตัดสินตกลงใจว่าจะเขียนปัญหาการวิจัยประเภทใด ประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

 1.1 เป็นเอกสารการวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่จำแนกประเด็นปัญหาหรือแนวคิดออกเป็นองค์ประกอบหลายส่วนและทำการประเมินประเด็นหรือแนวคิดนั้นๆ เสร็จแล้วนำเสนอประเด็นหรือแนวคิดดังกล่าวต่อผู้อ่าน

1.2 เป็นเอกสารตีแผ่  (Expository) หรืออธิบาย (Explainary) สิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้อ่าน

1.3 เป็นเอกสารเชิงอภิปรายถกแถลง (Argumentative) แสดงการยืนยันในความคิดเห็น (make a claim) เกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งและยืนยันการสนับสนุนความคิดเห็นนั้น ด้วยหลักฐานที่ชัดเจนและตรงประเด็น การยืนยันความคิดเห็นนั้น อาจจะเป็นความคิดเห็นเรื่องหนึ่ง,เป็นการเสนอนโยบายเรื่องหนึ่ง,การประเมินผลเรื่องหนึ่ง,เป็นการกล่าวแสดงเหตุและผล,หรือจะเป็นการตีความก็ได้
เป้าหมายของการถกแถลงนี้ คือการจูงใจผู้ฟังให้มีความเห็นคล้อยตามข้อเรียกร้องหรือคำแถลงยืนยันนั้น ว่าเป็นจริงบนพื้นฐานของร่องรอยหลักฐานที่นำเสนอ

ในกรณีที่การเขียนปัญหาการวิจัยไม่อยู่ในสามประเภทนี้ ( ตัวอย่างเช่นการพรรณนา - A narrative)  นักศึกษาก็สามารถนำตัวอย่างในข้อที่ 1 ข้างต้นมาปรับใช้ได้

Tip ข้อที่ 2.
ปัญหาการวิจัย จะต้องเป็นข้อความที่ชัดเจน คือจะต้องครอบคลุมเฉพาะสิ่งที่ต้องการอภิปรายในเอกสารการวิจัย ทั้งยังจะต้องมีร่องรอยหลักฐานที่ชัดเจนสนับสนุนอีกด้วย

Tip ข้อที่ 3
ข้อความระบุปัญหาการวิจัย มักปรากฏใน paragraph แรกของเอกสารการวิจัย

Tip ข้อที่ 4
หัวข้อการวิจัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างที่กำลังดำเนินการวิจัย ดังนั้น นักศึกษาอาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงข้อความระบุปัญหาการวิจัยให้เหมาะสมและสามารถสะท้อนภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่านักศึกษากำลังทำการอภิปรายเรื่องใดในเอกสารการวิจัย



ตัวอย่างการเขียนปัญหาการวิจัย

1.ปัญหาการวิจัยเชิงวิเคราะห์
จากการวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพบว่ามีปัญหาที่ท้าทายผู้ปฏิบัติงานด้านการแนะแนว : การรับนักศึกษาที่มีผลคะแนนการทดสอบสูงหรือนักศึกษาที่มีประวัติการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรมาก

จากปัญหานี้ เอกสารการวิจัยควรดำเนินการต่อไปว่า
-อธิบายการวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษา
-อธิบายปัญหาที่ท้าทายผู้แนะแนวการรับนักศึกษา
2.ปัญหาการวิจัยเชิงอธิบาย (Expository or Explanatory) ได้ดังนี้



ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนมากถูกจำแนกลักษณะที่สำคัญด้วยเวลาที่ใช้ในการศึกษา, การเข้าชั้นเรียน, และการมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มเพื่อน
จากปัญหาการวิจัยข้างต้น เอกสารการวิจัยส่วนต่อไปควรเป็นดังนี้
-อธิบาย (Explain) ว่านักศึกษาใช้เวลาในการศึกษา,การเข้าชั้นเรียน,และการสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มเพื่อนอย่างไร

3.ตัวอย่างปัญหาการวิจัยเชิงอภิปราย
ถกแถลง
"ผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายควรถูกกำหนดให้ฝึกงานเป็นเวลา 1 ปี เพื่อเรียนรู้โครงการบริการสังคม ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนวุฒิภาวะและความตระหนักรู้ความเป็นไปของโลกในระดับสากล"
จากปัญหาการวิจัยข้างต้น เอกสารตอนต่อไปจึงควรเป็นการ

...นำเสนอการอภิปรายถกแถลงและนำเสนอร่องรอยหลักฐานสนับสนุนการยืนยันข้อคิดเห็นที่ว่า ผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายควรถูกกำหนดให้เข้าร่วมโครงการบริการชุมชนก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย...

ในโพสต์นี้ผมแนะนำวิธีเขียนปัญหาการวิจัย (Thesis Statement or Research Problem Statement )รวม 3 แบบ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบโดยบอกผู้อ่านเพิ่มเติมว่า เมื่อเขียนปัญหาการวิจัยเสร็จแล้ว สามารถทำให้ทราบว่าเราจะต้องทำกิจกรรมอะไรอีกต่อไป

ท่านผู้อ่านและนักศึกษาที่สนใจรายละเอียดเรื่องนี้ เป็นภาษาอังกฤษโปรดติดตามลิงค์ต่อไปนี้ครับ