ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทัศนคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ต่อนโยบายการเสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา



น่าสนใจไหมครับ
ที่การประเมิณผลโครงการความปลอดภัยทางถนนช่วงสงกรานต์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่าง พ.ศ.2556 – 2559 รวม 4  ปี  พบว่า 
ภาพรวมการเกิดอุบัติเหตุเฉลี่ยวันละ 3 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 3 ราย และมีผู้บาดเจ็บเฉลี่ยวันละ 1 คน และจากสถิติเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2558 พบว่า วันที่ 12 เมษายน 2558 เป็นวันที่มีการเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุด โดยมีสาเหตุจากผู้ขับขี่เป็นหลัก ได้แก่ ผู้ขับขี่เมาสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด และขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ตามลำดับ และพบว่าจักรยานยนต์ยังคงเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

จากสถานการณ์ดังกล่าว ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้กำหนดแผนบูรณาการในการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2559 ขึ้น โดยมุ่งบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ใช้การบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จริงจังและต่อเนื่อง ควบคู่กับการนำนโยบายประชารัฐ มาเป็นกลไกในการสร้างความตระหนัก และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่ โดยได้ประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 



กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครกลุ่มต่างๆ และประชาชนให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ภายใต้ ชื่อ "โครงการสงกรานต์ปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจร” โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2559 

แบ่งระยะเวลาในการดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ

1) ช่วงการรณรงค์และเสริมสร้างวินัย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 17 เมษายน 2559 และ 
2) ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2559 

เป้าหมายของโครงการ คือ 
เป้าหมายที่หนึ่ง ลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน 
เป้าหมายที่สอง ลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บให้มีจำนวนน้อยที่สุด 

วิธีดำเนินการ โดยใช้มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ 5 มาตรการ ได้แก่ 
  1. มาตรการด้านการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพแบบยึดพื้นที่เป็นหลัก โดยมุ่งบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน 
  2. มาตรการด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  3. มาตรการด้านยานพาหนะที่ปลอดภัย 
  4. มาตรการด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย และ
  5. มาตรการด้านการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ 
ในปัจจุบันนี้วงวิชาการและสื่อกระแสหลักรวมทั้ง Social Media มีการนำเสนอเรื่องการสร้างวินัยของคนในชาติอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากมีการนำเสนอเรื่องการสร้างวินัยและลักษณะนิสัยที่ดีของชาวเยอรมนีและญี่ปุ่น  ชาวเกาหลีใต้ และ ชาวสิงคโปร์ อยู่เสมอๆ โดยเฉพาะลักษณะนิสัยที่ดีในการดำรงชีวิตประจำวันด้านต่างๆ อันเป็นคุณลักษณะที่ต้องผ่านการปลูกฝังและสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ทำนองเดียวกันกับโครงการ "หน้าที่ความรับผิดชอบต่อชุมชนระดับสากลและชุมชนท้องถิ่น"(Responsibility to Global and Local Communities)
ตามลิงค์ต่อไปนี้



ข้อสังเกตประการที่ 1  ระยะเวลาในการดำเนินการนั้นสั้นมาก คือมีเวลาดำเนินการเพียง 3 เดือน จากเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน 2559 แต่ตามหลักการสร้างคุณลักษณะที่ดี โดยเฉพาะคุณลักษณะของผู้นำที่ดีนั้น จะต้องผ่านการปลูกฝังสั่งสมมาเป็นเวลาที่ยาวนาน เพราะต้องมีการลงมือแสดงพฤติกรรมที่ดีเสียก่อน จึงจะเกิดเกิดทัศนคติที่ดี จากนั้นจึงจะเกิดคุณลักษณะหรือสมบัติที่ดี เช่นมีคุณลักษณะที่ชอบปฏิบัติตามระเบียบวินัยด้านการจราจร หรือเรียกสั้นๆว่า"มีวินัยการจราจร"ได้ ทั้งนี้ ตามทฤษฎีของ John H. Zenger and Joseph Folkman ที่ว่า  

พฤติกรรม สร้าง ทัศนคติ และทัศนคติสร้าง คุณลักษณะที่ดี


(Behavior To Attitudes To Character) 

ข้อสังเกตประการที่ 2  เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 2)เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ 




3) เทศบาลตำบล จำนวน 15  เทศบาล และ 4) องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง 

ตามกฏหมายแล้ว องค์กรปกครองท้องถิ่น หรือราชการบริหารส่วนท้องถิ่นล้วน มีอำนาจและหน้าที่ครอบคลุมเขตพื้นที่ทุกตารางนิ้วของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และ ที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 นั้น ได้ระบุอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เกี่ยวกับการสร้างวินัยจราจร อีกด้วย คือ
ฯลฯ
"(4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น"
ฯลฯ
(9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 
และหากพิจารณาเพิ่มเติมอีกว่า เวลาต่อมาได้มี กฎกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดให้กิจการดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ เช่น
          ฯลฯ
                  (2) กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                   ฯลฯ
                  (4) บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  (5) วางผังเมือง
                  (6) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
                 (7) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ
                 (8) จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด
                 (9) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
               (10) รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
               (11) จัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
               (12) จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะและสวนสัตว์ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมสำหรับราษฎร
               (13) จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ
               (14) ป้องกันและบำบัดรักษาโรค
               (15) จัดตั้งและการบำรุงสถานพยาบาล
               (16) ส่งเสริมการท่องเที่ยว
               (17) ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ
               (18) กิจการที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ดังนั้น  จึงสามารถกล่าวได้ว่า อปท.ล้วนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างวินัยของประชาชนซึ่งรวมถึงวินัยจราจรด้วย

ข้อสังเกตประการที่ 3  คือ เมื่อใดที่มีการกำหนดพันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น จะพบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ส่วนมากจะระบุพันธกิจ เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างวินัยจราจร ไว้หลายประการ เช่น

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับผังเมืองรวม พัฒนาระบบการบริการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ รวมถึงการคมนาคมขนส่ง 



2. พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น ทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หัตถกรรมและสินค้า OTOP บนพื้นฐาน ของศักยภาพ ที่แข่งขันได้และยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาด้านนี้จำเป็นต้องบริหารจัดการเรื่องปัจจัยการผลิต อันได้แก่เรื่องทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นแรงงานให้แก่หน่วยการผลิตในทุกภาคการผลิตจองระบบเศรษฐกิจ
ฯลฯ
5. ยกระดับคุณภาพ ชีวิต ของประชาชนทั้งด้านการศึกษา สุขภาพ วิถีการประกอบอาชีพการดำรงชีวิต ที่เข้มแข็งนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ
ฯลฯ
          7. ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น

จากข้อสังเกตที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ในด้านการบริหารนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามกฏหมายเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัยจราจร มิใช่เพียงเป็นครั้งเป็นคราวเมื่อมีงานเทศกาล มิใช่พันธกิจเฉพาะกิจ แต่เป็นพันธกิจด้านหลักที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำเลยทีเดียว



ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องรับผิดชอบการเสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนตามกฏหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้!
ในทางวิชาการ ตามหลักการบริหารสูความเป็นเลิศ ผู้บริหารที่จะมีแรงจูงใจที่ดีต้องมีคุณสมบัติที่สนับสนุนให้เกิด แรงจูงใจในการเสริมสร้างวินัยจราจร ได้อย่างน้อยๆ 6 ประการ คือ

1. ต้องมีความกระตือรือร้นต่ออำนาจหน้าที่หน้าที่ของตนที่เกี่ยวกับการสร้างวินัยจราจร

2. ผู้บริหารจะต้องสนทนากับบุคลากรในหน่วยงานทุกคน ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เกี่ยวกับการสร้างวินัยจราจรที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน รวมถึงแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆที่จะมีผลกระทบต่อบุคคลากรเหล่านั้นด้วย

3. ต้องทำให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายเรื่องการการสร้างวินัยจราจร ต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ที่สร้างสรรค์ และนำความคิดเห็นเหล่านั้นเสนอต่อไปยังหน่วยเหนือด้วย

4. ต้องหาโอกาสชมเชยผลงาน และความสำเร็จของบุคลากรอย่างเปิดเผย

5. ต้องสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานให้บุคลากรทราบอย่างสม่ำเสมอ

6. ต้องรีบกล่าวคำชมเชย  อย่ารอให้ผลงานเต็มร้อยเสียก่อน

นอกจากที่กล่าวมาแล้วผู้บริหารที่มีทัศนคติที่ดียังต้องมีคุณสมบัติที่ดีเพิ่มเติมอีก 3 ประการ คือ

1) ต้องรักษาคำพูด (Always deliver)
2) ต้องเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน (Be humble)
3) ต้องแสวงหาข้อมูลย้อนกลับ(Find a miror)

จากปัญหาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงประสงค์ศึกษาทัศนคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการให้สูงขึ้นและมีความยั่งยืน เพื่อสามารถสร้างวินัยของคนในชาติได้สัมฤทธิ์ผลให้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง "ทัศนคติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ต่อนโยบายการเสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์" นี้ คือ 

เพื่อบรรยาย(Describe)และอธิบาย(Explain) ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ 15 ตำบล และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการเสริมสร้างวินัยการจราจรของจังหวัดกาฬสินธ์ุ

แม้ว่าโพสต์นี้จะยาวมากแล้ว!!!
แต่เรื่องราวของเรายังไม่จบเลย
คราวหน้าเราจึงจะกล่าวถึง กรอบแนวคิดในการวิจัย

สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ



วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

การเขียนคำถามการวิจัย (Research Questions)

วิธีเขียนคำถามการวิจัย เริ่มต้นด้วย
1.เขียนคำถามให้สอดคล้องและครอบคลุมปัญหาการวิจัย โดยแบ่งปัญหาการวิจัยออกเป็น ประเด็น หรือแบ่งตาม หัวข้อย่อย เพื่อความสะดวกในการจัดการกับปัญหาการวิจัย 

2.แบ่งปัญหาการวิจัยออกเป็นหัวข้อย่อยโดยแบ่งตามกลุ่มคน กับแบ่ง ตามประเด็นของการวิจัย โดยให้เขียนแยกเป็นข้อๆเรียงตามลำดับของการศึกษาคำคอบ

3.เขียนเรียบเรียงเป็นประโยคคำถาม ด้วยสำนวนภาษาและถ้อยคำท่ีกระชับ อ่านเข้าใจง่าย

สำหรับหัวข้อการวิจัยที่เรายกมาเป็นตัวอย่าง คือการวิจัยเรื่อง

ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนจังหวัดกาฬสินธุ์

http://tongariokalasin.blogspot.com/2016/04/blog-post.html


การเขียนคำถามการวิจัย สำหรับหัวข้อการวิจัยนี้ 
ประการแรก เราต้องพิจารณาปัญหาการวิจัย (Problem Statement) ของเราเสียก่อน แล้วเราจึงระบุคำถามการวิจัยในลักษณะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ซึ่ง ปัญหาการวิจัยของเราก็คือ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อบรรยาย (Describe) และเปรียบเทียบ (Compare) ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์


จากปัญหาการวิจัยนี้ เราสามารถเขียนคำถามการวิจัยโดยแบ่งประเด็นเป็น  ประเด็นทัศนคติ กับ ประเด็นโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร เราจึงคำถามได้ดังนี้

1. อะไร (WHAT) คือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่ง ผู้บริหารท้องถิ่นในขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

2. อะไร (WHAT) คือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

3. ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่ง ผู้บริหารท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   กับทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ (ARE THERE ANY DIFFERENCES) 

คำถามการวิจัยที่เขียนในรูปของคำถามสามข้อนี้ มีประโยชน์สำหรับเป็นเครื่องนำทางในการทำวิจัย โดยคำถามจะคอยบอกว่าเราต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ใด  เราจะจัดเก็บข้อมูลอะไร เก็บจากใคร และจะมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร นอกจากนี้ คำถามยังมีประโยชน์ข้อที่สองคือช่วยให้เรามีความชัดเจนว่าคำตอบสำหรับคำถามข้อ 1 กับข้อ 2 จะได้มาจากการนำแบบสอบถาม (Questionnaires) ไปถามผู้นำท้องถิ่นทั้งสองกลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธ์ุ นั่นเองครับ

สำหรับคำถามข้อที่สาม มีประโยชน์เพราะเป็นเครื่องกำกับการพิจารณาของเราต่อไปว่า. ในการเปรียบเทียบทัศนคติผู้บริหารกับทัศนคติของสมาชิกสภา เราจะต้องมีตัวเลขที่ใช้วัดทัศนคติ เป็นเชิงปริมาณ ซึ่ง เราจะต้องเขียนนิยามศัพท์ปฏิบัติการของตัวแปรที่สามารถวัดได้  ซึ่งโดยปกติการวัดทัศนคติเราจะใช้ค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มเป็นตัวเลข  ตาม  5 point Likert's Scale 

ขอสรุปย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
ปัญหาการวิจัยและคำถามการวิจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัย หรือกล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า

Research problems and research questions are the most important part of a research projects.

ขอบคุณ และ สวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

การเขียนปัญหาการวิจัย ของหัวข้อ การวิจัยเรื่อง ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นฯต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรฯ

การเขียนปัญหาการวิจัยของหัวข้อการวิจัย เรื่อง ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำอย่างไร

 ผมขอตอบว่าต้องเขียนจากสูตรของ Dr.Gary  J. Dean ที่ผมเคยนำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว คือ เขียนจากสูตรที่บอกว่าให้ยึดหลักเขียนให้ครบองค์ประกอบสามส่วน ดังต่อไปนี้ครับ

T POTS + VERBS + KEY WORDS/PHRASES

ผมขออธิบายด้วยการแทนค่าในสูตร ดังต่อไปนี้


1. T POTS อ่านว่า ทีพอทส์ เป็นตัวย่อของข้อความว่า The Purpose Of This Study  Is...แปลเป็นไทยว่า วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้คือ เพื่อ...

2. VERBS หมายถึง คำกริยา ที่บ่งบอกว่าเราจะลงมือทำอะไร คือเราจะทำกิจกรรมอะไรในการวิจัยเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น เราจะบรรยาย (Describe) เราจะค้นหา (Identify) เราจะเปรียบเทียบ (Compare) ดังนี้ เป็นต้น
คำเหล่านี้ แต่ละคำจะบ่งบอกถึงวิธี (Method) ที่เราจะดำเนินการวิจัย หรือแสวงหาความรู้ หรือ เป็นการบ่งบอกว่าเราจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง


3. KEY WORDS/PHRASES คำสำคัญ/วลี  คำสำคัญในที่นี้หมายความถึงคำที่บ่งบอกกลุ่มคน กับประเด็นที่เราสนใจและวิธี (Methods) ในทำการวิจัยว่าเราจะ บรรยาย (Describe), อธิบาย (Explain), สำรวจหรือบุกเบิก (Explore), หรือจะ เปรียบเทียบ (Compare) นั่นเอง ในปัญหาการวิจัยนี้ เรากล่าวถึง คำสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

- ทัศนคติ
- ผู้นำท้องถิ่น
- ผู้นำท้องถิ่น ตำแหน่งนายกเทศมนตรีมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
- ผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ผู้นำท้องถิ่นตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น
-โครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของจังหวัดกาฬสินธุ์

จากสูตรข้างต้นสามารถเขียน ปัญหาการวิจัย ได้ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อบรรยาย (Describe) ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ต่อโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์



กล่าวโดยย่อ การเขียนปัญหาการวิจัยเรื่องนี้ เราต้องพยายามคิดล่วงหน้าว่า เมื่อเราทำวิจัยเสร็จแล้ว อะไรคือสิ่งที่ เราประสงค์จะรายงานต่อผู้อ่าน โดยในปัญหาการวิจัยนี้เราประสงค์รายงาน การบรรยาย (Describe) สภาพของทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นโดยมีการเปรียบเทียบทัศนคติของผู้นำที่ดำรงตำแหน่งต่างกันด้วย

ผมเชื่อมั่นว่าท่านผู้อ่านและนักศึกษาจะเข้าใจวิธีเขียนปัญหาการวิจัยไม่มากก็น้อย

พบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

Top 100 Billboard Hot 100 Songs April 25, 2015

การวิจัยเชิงสำรวจ ( Survey Research)

การวิจัยเชิงสำรวจ (Surveys) ใช้ในกรณีใดบ้าง?

นักวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจในกรณีต่อไปนี้
1.เพื่อพรรณนาหรือบรรยาย (Describe) ทัศนคติ หรือพฤติกรรมของประชากรที่ศึกษา
2.เพื่ออธิบาย (Explain) ความสัมพันธ์ ด้วยการแสดงเหตุผลให้เกิดความน่าเชื่อถือในสิ่งที่เราอธิบาย มิใช่บรรยายเพียงอย่างเดียว
3.เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน
4. เพื่อท้าทายทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง
5.เพื่อประเมิน (Evaluate) สถาบัน (องค์กร) หรือโครงการใดโครงการหนึ่ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้บ่อยได้แก่ การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม (Questionaires) เช่น แบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำนักวิจัยต่างๆดำเนินการทำโพลอยู่ในปัจจุบัน 

ด้วยเหตุนี้การวิจัยเชิงสำรวจจึงเริ่มต้นด้วยการกำหนด จำนวนของปัจเจกบุคคลที่เราจะศึกษาหรือจำนวนบุคคลที่จะตอบแบบสอบถาม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การกำหนด ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง นั่นเอง 

บุคคลเป้าหมายที่เราจะทำการศึกษานี้ อาจจะเป็นสถาบัน หรือองค์กร หรือประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้สูงอายุในเขตอำเภอหนึ่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแห่งหนึ่ง หรือประชาชนที่เข้าชมนิทรรศการเรื่องหนึ่ง นักวิจัยหน้าใหม่มักจะเริ่มทำการวิจัยที่มุ่งการสำรวจบุคคล
เมื่อนักวิจัยกำหนดบุคคล หรือกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษาได้แล้ว ขั้นต่อไปก็เป็นการตัดสินใจว่าจะถามเรื่องอะไรบ้างและถามอย่างไร ซึ่งเป็นการเริ่มต้นจัดทำแบบสอบถาม (Questionaires) นั่นเอง 
ลองตามลิงค์ไปดูการวิจัยเชิงสำรวจของ นิดาโพลและสวนดุสิตโพล ที่นำเสนอไว้แล้วนะครับ